วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

แสงสว่างแห่งสังคมไทย

10 พฤศจิกายน 2013 เวลา 19:31 น.
วิชา SFP 710 ผู้นำร่วมสมัย และรูปแบบการเป็นผู้นำ
อาจารย์ผู้สอน รศ. ดร.ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร
โดย พิชญา  สุกใส
1.             เสนอชื่อหัวเรื่อง
Brightness (แสงสว่างแห่งสังคมไทย)
2.             รายการชื่อหนังสือ
1.            J. Emerson, “Behavior in privateplaces,” 74-79, Recent Sociology2, 1970.
2.         H. Garfinkel, “ Whatis ethnomethodology? ” ibid, pp.1-34
3.         G.Simmel, The Philosophy of Money1978/1990
4.         W. Handel, Ethnomethodology : How People Make Sense, 1982: Ch.1,2.
Brightness (แสงสว่างแห่งสังคมไทย)
               การศึกษาเพื่อค้นหาเหตุผลทางสังคมวิทยานั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน การศึกษาด้วยวีธีการทาง Ethnomethodology นักสังคมวิทยา ชื่อ Garfinkel ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อWhat is ethnomethodology  ถึงการศึกษาในสามกรณีที่ค้นหาเหตุผลจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากทั้งสามกรณี โดยในปรากฏการณ์ที่สังคมใดก็ตามมีความคงอยู่ของรูปแบบการปฏิบัติ ระหว่างบุคคลหรือระหว่างคนที่มีความสัมพันธ์กันในสังคมอาจส่งผลมาจากการยอมรับในความคงเดิมของสภาพการณ์ และสภาวะการณ์ ของสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรม และจารีต ในสังคมนั้นๆ ในขณะเดียวกันเมื่อมีผู้ที่กระทำการอันใดที่ผิดแปลกจากที่คนในสังคมนั้นปฏิบัติหรือมีผู้ที่รู้สึกว่ากระบวนการหรือระบบของการดำเนินชีวิตในสังคมที่กำลังดำเนินอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือไม่สามารถยอมรับในความเป็นไป ของสิ่งที่อาจเรียกได้ว่า ความเหมาะสมทางสังคมทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่อต้าน และการทำให้เกิดการยอมรับในความแตกต่างที่ไม่เหมือนกับสิ่งที่เป็นอยู่หรือระบบของความสัมพันธ์ของสังคมนั้นๆ ทั้งในระดับบุคคลและระดับของสังคมซึ่งตั้งแต่สังคมระดับครอบครัวจนถึงสังคมระดับประเทศและระดับโลก
               เมื่อกลับมามองบริบทของสังคมไทยในด้านปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการบริหารประเทศซึ่งประเทศไทยนั้น บริหารโดยใช้อำนาจหลัก 3ฝ่าย คือ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และอำนาจนิติบัญัติ โดยต้องยอมรับว่าในปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของ พุทธศักราช 2555 นี้ประเทศไทยได้ประสบปัญหา อันเกิดจากกการบริหารประเทศ โดยที่อำนาจหลัก 3 ฝ่ายที่ใช้ในการบริหารประเทศนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมซึ่งแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่ายก็มีความคิดที่แตกต่างกันการยอมรับในอำนาจหลักที่ใช้ในการบริหารประเทศที่ผ่านมาส่วนใหญ่อาจมีบางกรณีที่ฝ่ายอำนาจบริหารไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนจึงทำให้เกิดความขัดแย้งเช่นกรณีที่ฝ่ายบริหารของรัฐที่มาจากการทำรัฐประหาร หรือในกรณีที่ฝ่ายบริหารรัฐปฏิบัติหน้าที่อันเป็นเหตุที่ทำให้อาจมองได้ว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะดำเนินการบริหารประเทศต่อไปได้ก็จะเกิดการรวมตัวของกลุ่มคน คณะบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจของฝ่ายบริหาร  ซึ่งเป็นความขัดแย้ง ระหว่างประชาชนกับฝ่ายรัฐเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน ปัญหาได้เปลี่ยนรูปแบบและได้ขยายวงกว้างสู่ความขัดแย้งระหว่างประชาชนด้วยกันทำให้อาจมองได้ว่าในอนาคตอาจเกิดสงครามระหว่างประชาชนกันเองโดยมีเหตุที่เกิดจากการไม่ยอมรับในอำนาจของฝ่ายบริหารและที่สำคัญคืออำนาจหลักอีก  2  ฝ่ายก็ไม่ได้รับการยอมรับจากคนบางกลุ่มในสังคมเช่นเดียวกันกล่าวคือ อำนาจตุลาการซึ่งนับได้ว่าเป็นหลักแห่งความยุติธรรมก็ได้มีปัญหาที่เกิดขึ้นจากความไม่ไว้วางใจในตัวบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนของความยุติธรรม
                         วัฒนธรรมเชิงกลุ่มของผู้ที่อยู่ในสังคมไทยสามารถมองได้ว่าแบ่งได้เป็น สองกลุ่ม กลุ่มแรกคือขอมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม กลุ่มที่สองคือไม่ขอเกี่ยวข้อง ไม่ว่าเนื่องมาจากเหตุผลอันใดก็ตามหรืออาจมองว่าปํญหาสังคมเป็นหน้าที่ของรัฐ หรือฝ่ายบริหารที่ต้องดำเนินการจัดการกับปัญหานั้นๆ คนกลุ่มแรกอาจมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาโดยใช้วิธีการรวมตัวกันเพื่อต่อต้านสิ่งที่ตนมองว่าไม่ถูกต้องเช่นตัวอย่างของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองวิธีการที่ออกมาชุมนุมกันในที่ที่เป็นสาธาณะ และช่วงหลังได้ลุกลามไปสู่สถานที่ราชการและสถานที่ส่วนบุคคลเพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามที่กลุ่มของตนต้องการซึ่งเป็นวิธีที่นำมาใช้กันโดยปกติของปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตาม
                 การค้นคว้าหาความจริงจากการที่นักสังคมวิทยา ใช้วิธีการแบบปรากฏการณ์นิยม  และการวิจัยชาติพันธุ์ หรือ     มนุษยวิทยาโดยวิธีวิจัยแบบ Ethnomethodology  นั้นผู้วิจัยอาจเก็บข้อมูลได้โดยเข้าไปเป็นผู้สังเกตการณ์(Obsever) ดูความเป็นไปของเหตุการณ์และพฤติกรรมของคนในเหตุการณ์เพื่อหาสาเหต ดังตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระบบกระบวนการของการตรวจภายในของสตรีของอเมริกัน จากหนังสือเรื่อง “Behavior inprivate places.ที่เขียนโดย J. Emerson นั้น กรณีที่ผู้หญิงที่เข้ารับการตรวจก็มีการรับรู้เกี่ยวกับการตรวจภายในจากผู้เคยผ่านการตรวจมาก่อนและคาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมจากกระบวนการทางการแพทย์แต่ในทางกลับกันผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลก็คาดหวังว่าจะได้รับความร่วมมือในการตรวจ แต่ในบางครั้งในระหว่างการตรวจสิ่งที่แพทย์กระทำหรือปฏิบัติกับผู้เข้ารับการตรวจอาจทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกัน หรือเข้าใจไปในทิศทางที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงทั้งนี้ เนื่องจาก การรับรู้ ในกระบวนการ และระบบของการปฏิบัติของการตรวจภายในของแพทย์และผู้เข้ารับการตรวจ มองในความหมายที่ต่างกันและถ้าผู้เข้ารับการตรวจไม่ให้ความร่วมมือ ทำผิดบทบาท โดยไปก้าวก่ายหรือไม่ให้ความร่วมมือ การตรวจก็ย่อมจะมีปัญหา ในขณะเดียวกัน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างการตรวจก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งแพทย์ อาจจะเคยชินในการสัมผัส ตัวคนไข้ หรือการพูดระหว่างการตรวจก็เช่นเดียวกันซึ่งทั้งสองสิ่งอาจทำให้คนไข้ที่กำลังตรวจเกิดความรู้สึกไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ความเคยชินของระบบการตรวจของทีมแพทย์ และทีมผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ ในระบบงานทำให้รู้สึกว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนการแล้ว ในขณะที่คนไข้ผู้เข้ารับการตรวจ  อาจไม่ได้คิดเช่นนั้น ถ้าเปรียบเทียบกับการสังเกตการณ์จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองไทยในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันในด้านของกระบวนการการควบคุมจากฝ่ายรัฐซึ่งตามกฎหมายถือเป็นระเบียบแบบแผนที่ปฏิบัตฺตามหน้าที่ กล่าวคือเมื่อเกิดการชุมนุมขึ้น ฝ่ายความมั่นคงก็มอบหมายความรับผิดชอบไปยังกระทรวงมหาดไทยให้นำกำลังตำรวจเข้าควบคุมสถานการณ์ เพื่อป้องกันผู้ชุมนุมใช้ความรุนแรง แต่ในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในระหว่างการควบคุมผู้ชุมนุมนั้นอาจมีการกระทบกระทั่ง และผู้ชุมนุมมองว่าการปฏิบัติต่อพวกเขา เป็นการละเมิดเช่นการปะทะในระยะใกล้ การถูกเนื้อต้องตัวแต่ในขณะเดียวกันตำรวจชินกันการปะทะเนื่องจากถูกฝึกมาจนเคยชินเลยรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติและสิ่งที่ปฏิบัตินั้นได้กระทำถูกต้องตามกระบวนการในปรากฏการณ์เดียวกันมีการกระทำเกิดขึ้นหนึ่งเหตุการณ์แต่ในเหตุการนั้น ผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำมองไปคนละทางโดยตัดสินจากมุมของฝ่ายตนทำให้เกิดปัญหาที่ต่างฝ่ายก็มองว่าสิ่งที่ตนคิดและกระทำนั้นถูกต้องหรืออาจกล่าวได้ว่าผู้กระทำมองว่าตนทำสิ่งที่ถูกต้องแต่ฝ่ายผู้ถูกกระทำมองว่าไม่น่าจะถูกต้องและควรทำในแบบที่พวกเขาคิดหวังว่ามันควรจะเป็นไปตามนั้นดังนั้นสังคมจึงได้เกิดความขัดแย้งกันมากขึ้นเพราะการมองในบทบาทของตนทำให้ยากต่อการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้พระราชกำหนดการบริหารประเทศยิ่งทำให้เกิดปัญหาเป็นปรากฏการณ์ให้เห็นเป็นภาพใหญ่ เป็นกระบวนการแก้ปัญหา ที่เกิดความการผิดพลาดของระบบการบริหารที่ไม่สามารถจัดการความขัดแย้งได้ในภาวะปกติ
                     ตัวอย่างจากกรณีศึกษาจากหนังสือเรื่อง How people makesense  โดย W.Handel ในบทที่หนึ่งได้กล่าวถึง  กรณีศึกษา ซึ่งเป็นผลงานจากของ Garfinkel ที่ได้ทำการวิจัย เรื่องของผู้ชายที่ต้องการแปลงเพศเพื่อให้มีสภาพเพศและสถานภาพทางสังคมเป็นผู้หญิงงานวิจัยนี้แสดงถึงความต้องการการยอมรับจากสังคมในความเป็นผู้หญิง ของ Agnes ประเด็นของการศึกษาปัญหาคือAgnes สมควรได้รับการแปลงเพศหรือไม่โดยในที่สุดเธอก็สามารถแปลงเพศได้โดยที่มีการรับรองว่าเธอสมควรทำได้จากการที่นักจิตวิทยาได้ศึกษาพฤติกรรม และผลสรุปของงานวิจัย ทำให้ Agnes  ได้แปลงเพศเป็นผู้หญิงได้ตามที่ต้องการ งานวิจัยนี้เมื่อมองให้ลึกซึ้งจะสังเกตุเห็นความตั้งใจของ Agnes ในการพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ทุกคนมองตนว่าเป็นผู้หญิง ตามความเป็นจริงทางกายภาพได้รับการตัดสินว่าเป็นเพศชายโดยกำเนิดเป็นการตัดสินโดยรัฐ ประเด็นที่น่าสนใจคือการตัดสินโดยหลักการวิทยาศาตร์ทางกายภาพ  แต่ผลจากการตัดสินใช้หลักการทางสังคมวิทยา จากการวิจัยทางสังคมวิทยากลับตัดสินให้ Agnes สามารถเป็นผู้หญิงได้จากพฤติกรรมและความมุ่งมั่นในการที่จะให้ผู้อื่นยอมรับในความเป็นผู้หญิงจนประสบผลสำเร็จ
                  จากกรณีศึกษาของAgnes ที่ถูกตัดสินหรือตีตราว่าเป็นเพศชายแต่กำเนิดจากสถานะทางกายภาพโดยรัฐ ซึ่งชอบด้วยกฏหมาย แต่สามารถเปลี่ยนเป็นเพศหญิงตามการกระทำทางสังคมโดยนักสังคมวิทยา  ในสังคมไทยปัจจุบันก็เกิดปัญหาเรื่องสถานภาพแต่มิใช่สถานภาพทางการกำหนดเพศ แต่เป็นสถานภาพทางสังคม ซึ่งมีอดีตผู้นำของประเทศถูกตัดสินว่าเป็นผู้กระทำผิดมีสถานภาพเป็นนักโทษโดยรัฐแต่เขาไม่ได้รู้สึกว่าเป็นผู้กระทำผิดไม่ได้คิดว่าตนอยู่ในสถานะนักโทษแต่เป็นพลเมืองไทย ที่มีสถานภาพทางสังคมเช่นเดียวกับอิสรชนทั้งหลาย ในเรื่องนี้ยังไม่มีการทำวิจัยหรือมีนักสังคมวิทยาผู้ใดเข้าไปทำการวิจัย และที่สำคัญในการกำหนดสภาพเพศของตนของAgnes กับการกำหนดสถานะทางสังคมของอดีตผู้นำ  อาจมองว่าเป็นคนละประเด็น แม้ว่าอดีตผู้นำจะมีการแสดงบทบาทว่าเป็นคนปกติที่สามารถเดินทางไปในที่ต่างๆเกือบทั่วโลก ดูจากพฤติการณ์แล้วดูเหมือนว่ามีอิสระไม่เหมือนนักโทษแต่ประการใดยกเว้นที่ๆไม่อาจมีอิสรภาพได้ก็คือประเทศไทยเท่านั้นซึ่งการแสดงออกในบทบาทที่เป็นอยู่นี้ได้สร้งความสับสนให้กับกลุ่มคนในสังคมไทยถ้ามองจากพการศึกษาพฤติกรรมของ Agnes โดยนักสังคมวิทยา ที่ตัดสินว่าให้มีการแปลงเพศได้เพื่อให้มีสถานะเป็นผู้หญิงในสังคมแต่ในขณะเดียวกัน ประชาชนในสังคมไทยเป็นจำนวนมากที่ตัดสินจากความรู้สึกว่าอดีตผู้นำมีสถานภาพทางสังคมเป็นคนปกติที่ไม่ใช่นักโทษตามที่รัฐตีตรา
                   เมื่อดูถึงเหตุผล ประเด็นที่เรื่องของAgnes จบลงด้วยความสมหวังในขณะที่เรื่องของอดีตผู้นำ ยังไม่จบและยังเป็นปัญหาจนถึงปัจจุบันเพราะสภาพเพศชายของ Agnes เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากการปฏิสนธิไม่ใช่เกิดการกระทำของเขาแต่ในขณะที่ อดีตผู้นำถูกตัดสินจากพฤติกรรมในการปฏิบัติการหน้าที่ ซึ่งอยู่ในระบบและเงื่อนไขที่อดีตผู้นำมองว่าไม่ผิด แต่เมื่อมีการตีความทางกฏหมายจากคณะผู้พิพากษาแล้วได้มีการวินิจฉัยว่าผิด แม้ประชาชนในสังคมอีกมากมายมองว่าไม่ผิดแต่ประชาเหล่านั้นไม่ได้เป็นผู้ที่มีบทบาทและอำนาจในการตัดสินกี่ยวกับสถานภาพของอดีตผู้นำ ในการมองสองกรณีนี้จะห็นได้ว่านักสังคมวิทยาเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการวิจัย ส่วนคณะผู้พิพากษาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามก็ย่อมเป็นไปได้ว่าคนในสังคมจะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการตัดสินของนักสังคมวิทยาในกรณีของ Agnes และการตัดสินของคณะผู้พิพากษาในกรณีของอดีตผู้นำ  ดังนั้นการที่ศึกษาปรากฏการณ์นั้นๆหรือกระบวนการและระบบของวัฒนธรรมของสังคม ต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของคนและระบบของสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความคิดของคนในสังคมซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเข้าถึงของข้อมูล และบางคร้งข้อมูลก็เอาจป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดพฤติกรรมและรูปแบบของระบบการดำเนินชีวิตของคนในสังคมได้เช่นเดียวกัน
                   ส่วนในเรื่องของบทบาทและค่าของเงินจากหนังสือเรื่อง  The Philosophyof Money  ของG.Simmelการให้ค่าของสิ่งที่มีความหมาย  คุณค่าทางเศรษฐศาตร์ที่เป็นนามธรรม ของความคิดของบุคคล บทบาททางเศรษฐศาสตร์ ของคุณค่า การให้ค่าในด้านของการแลกเปลี่ยน ที่มาสามารถระบุเป็นรูปธรรมเพราะค่าบางอย่าง ตัวอย่างเช่นในเรื่องของความรัก หรือคุณค่าของอะไรที่เป็นนามธรรม แต่ยังทรงไว้ซึ่งคุณค่านั้นๆ  ส่วนในบทที่สองของหนังสือที่ได้กล่าวถึงเรื่องของคุณภาพ และปริมาณ ของเงินที่เปรียบเสมือนตัวแทนของการยอมรับ เงินอาจเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งที่มีคุณ่าในขณะเดียวกันก็ยังเป็นคุณค่าที่เป็นนามธรรมที่ถูกกำหนดโดยบุคคล แต่ลองกลับมามองสังคมไทย ในกรณีการทำรัฐประหารซึ่งการกำหนดคุณค่าในเรื่องนี้จากอดีตจนถึงปัจจุบันก็ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการวัดคุณค่าของการกระทำซึ่งการทำรัฐประหารในแต่ละครั้งของประเทศไทยที่ผ่านมาหลายๆครั้ง ถ้าลองกลับไปดูภาพหรือบรรยากาศในขณะที่มีกองทหารออกมาควบคุมสถานการณ์จะเห็นได้ว่าช่วงนั้นประชาชนจะมีความหวาดกลัว และมีความรู้สึกว่าทหารที่ออกมาทำการรัฐประหารได้สร้างความรุนแรงให้กับผู้คนในสังคมทำให้เกิดความผิดปกติของสภาพสังคม มีการควบคุมที่เรียกได้ว่าเป็น การละเมิดถ้าเป็นในสภาวการณ์ปกติ แต่ปรากฏการณ์ทางสังคมไทยได้สร้างความประหลาดใจในสังคมระดับโลกจากเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เพราะเนื่องจากทหารที่ออกมาควบคุมสถานการณ์อันตึงเครียดในขณะนั้นได้รับกำลังใจจากการทำรัฐประหาร โดยนำดอกไม้ เปรียบเสมือนดั่งว่าทหารเหล่านั้นเป็นศิลปินคนโปรดหรือเป็นฮีโร่ในดวงใจของประชาชนกลุ่มนั้นๆ การถูกกำหนดบทบาทในค่าของการทำรัฐประหารและเพิ่มมูลค่าของกระบวนการการเปลี่ยนแปลงโดยใช้การยึดอำนาจ และถ้าจะวัดค่าในเรื่องของการทำรัฐประหารเป็นมูลค่าทางประชาธิปไตยการทำรัฐประหารแต่ละครั้งการกำหนดบทบาทของผู้ที่ทำรัฐประหารนั้น  เป็นการเพิ่มมูลค่าให้เป็นบวก หรือเป็นการลดมูลค่าให้เป็นลบสำหรับคุณค่าของความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย
                     จากปรากฏการณ์ทางการเมืองในสังคมไทยในช่วงแปดปีที่ผ่านมาเมื่อนำมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบการศึกษาและวิจัยด้วยวิธีการEthnomethodology  แล้วจะเห็นว่ามีทั้งความสอดคล้องและความแตกต่างหลายประเด็นซึ่งอาจสรุปได้ว่าการนำวิธีการของ  Ethnomethodology มาใช้ในการค้นหาเหตุผลหรือนำมาเป็นรูปแบบวิธีการของการวิจัยทางสังคมวิทยาก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของคนในสังคมของระบบสังคมวัฒนธรรม  ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น  ในการวิจัยทางสังคมวิทยาด้วยวิธีการดังกล่าวก็จะเปรียบเสมือนแสงส่วางที่ส่องทำให้เราเห็นภาพปัญหาและนำผลของการศึกษาในแต่ละกรณีมาใช้เพื่อการทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นและจะนำมาซึ่งหนทางในการจัดการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพของปัญหาของสังคมไทยเพื่อให้การศึกษางานทางวิชาการเป็นเสมือน “แสงสว่างแห่งสังคมไทย”          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น